วิธีตั้งราคาขายโรงแรม เหมือนตอนถอดกางเกงใน
ถึงผู้บริหารโรงแรมที่เกี่ยวข้องกับการตั้งราคาขายทุกคน
❌เคยไหมที่โดนลูกค้าด่าทำไมขายใน xyz ถูกกว่าที่เค้าจองไป
❌เคยไหมที่ลูกค้าด่าบอกราคา Walkin ไปแพงกว่าใน App ที่ลูกค้ากำลังกดดูเดี๋ยวนั้นที่หน้าฟร้อน
❌เคยไหมที่โดนคู่ค้าเจ้า A ด่าว่าทำไมเจ้า B ได้ราคาดีกว่า งั้นไปช่วยขายโรงแรมอื่นดีกว่า
❌เคยไหมที่คู่ค้าขอยกเลิกการจอง ไปจองที่อื่นเพราะรู้ว่าโรงแรมขายใน OTA ถูกกว่า
❌เคยไหมที่ยอมปล่อยให้ห้องโรงแรมเหลือว่างเพราะดันรับกรุ๊ปราคาแพง จะขาย OTA ต่ำกว่าก็ไม่เอา เลยขายราคานี้แต่ก็ไม่มีใครซื้อเข้าพัก
❌เคยไหมที่ห้องที่เกรดสูงกว่าดั๊นขายได้เงินที่น้อยกว่าเพราะลูกน้องก็ไม่รู้จะขายต่างกันเท่าไหร่
❌เคยไหมที่ถามลูกน้องที่ดูแลเรื่องพวกนี้ไปแล้ว แต่ก็ไม่เคยจะได้คำตอบที่พอจะเข้าใจได้กลับมา
❌เคยไหมที่ต้องฝืนทนพนักงานแบบนี้ต่อไปเพราะตัวท่านเองก็ไม่เข้าใจว่าทางที่ควรจะเป็นมันคือแบบไหน
แล้วแบบนี้จะโทษตัวท่านเองที่ไม่เข้าใจ หรือจะโทษตัวท่านเองอีกแหล่ะที่ก็ไม่รู้ว่าพนักงานที่จ้างมาไม่มีทักษะเพียงพอกับงาน
ผมเคยผ่านเคสแบบนี้มาหมดแล้วครับ แต่ก็จัดการได้ไม่ยากเพราะเคยวางโครงสร้างราคาและทำตามขั้นตอนที่มีแบบแผน
ถ้าเปรียบเทียบก็เป็นคนเจ้าชู้ที่คอยเคลียร์อย่าให้รถไฟชนกัน จัดการไม่ลงตัว (ฟังเค้ามา)
✅จะดีกว่ามั๊ยถ้ามีวิธีจะทำให้ท่านปวดหัวน้อยลงหรืออาจจะหายขาดเลยก็เป็นได้ ท่านสามารถเข้าใจได้ง่ายๆและจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยขั้นตอนที่ผมได้ผลลัพธ์มาแล้ว
✅แนวทางนี้ เป็นแนวทางเดียวกันกับที่สายการบิน American Airline ริเริ่มใช้จนได้ผล สายการบินต่างๆทั่วโลกจึงได้ใช้ตาม
✅หรือแม้แต่โรงแรมขนาดเล็กราคาประหยัดในไทยอย่าง ibis, Hop Inn, Red Planet หรือ OYO ก็ใช้แนวคิดนี้เพื่อดูแลโรงแรมของเค้า ซึ่งไม่ได้ไกลเกินความสามารถที่โรงแรมของท่านจะทำได้เช่นกัน เพียงท่านทำความเข้าใจกับรายได้ที่เข้ามาอย่างมีที่มาที่ไปได้อย่างสบายใจ
✅ซึ่งผมได้เรียนรู้มาจาก Cornell University, USA ที่มี Dr. Sheryl Kimes - Revenue Management Expert เป็นผู้สอน ได้นำไปใช้จนได้ผลลัพธ์ที่ดีมาแล้วในโรงแรมกว่า 30 แห่งที่ผมเคยดูแล และเตรียมไว้แบ่งปันให้ท่านได้รู้เช่นกัน
อย่าเพิ่งเชื่อผมถ้ายังไม่ได้ลองดูเคล็ดลับต่อไปนี้
ผมได้เรียบเรียงขั้นตอนใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้นเปรียบเทียบเหมือนกับการถอดกางเกงใน กดดูแผนภาพโครงสร้างดังนี้
อธิบายให้เห็นภาพขึ้น ลองคิดตามงี้นะ
1.ถ้าคิดจะตั้งราคาขาย แล้วให้มันขายได้เทน้ำเทท่า ก็ต้องเริ่มที่สำรวจตลาดก่อนว่า ใครจะมาพักโรงแรมแบบนี้และเพื่ออะไรได้บ้าง
2.โดยแบ่งเก็บข้อมูลลูกค้าที่พฤติกรรมเหมือนกันเป็นกลุ่มๆ (Market Segment) ทำความเข้าใจความต้องการใช้โรงแรมที่แต่ละกลุ่มมีใช้โรงแรมเมื่อไหร่ ตอนไหน จองจากที่ไหน พักนานเท่าไหร่ จองช่องทางไหน จองล่วงหน้ากี่วัน มากันกี่คน บลา บลา บลา
3.แล้วประเมิณระดับความอยาก ความเร่งรีบ ความจำเป็นไปกำหนดราคา
4.อยากมากราคาก็ตั้งสูงขึ้น แต่ถ้าตั้งราคาต่ำกว่าระดับความอยากก็ทำให้โรงแรมเสียโอกาสทำเงินไป ก็ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาที่มีคนพร้อมจะยอมจ่ายได้จากระดับความจำเป็นของเค้านี่แหล่ะ
5.แต่ราคาต้องเหมาะสมกับคุณภาพสินค้าบริการด้วย ไม่งั้นมันก็รู้สึกว่าแพงเกิ๊น Overprice
6.จ่ายไปไม่รู้สึกว่าคุ้มค่าสมราคา ต่ำกว่าความคาดหวังที่แบรนด์โม้ไว้ สุดท้ายก็ไม่มีใครกลับมาซื้อซ้ำ รีวิวไม่ดีไม่มีการบอกต่อ เผลอๆคนอ่านเจอรีวิวลบๆก็แย่ไปอีก
ขอย้ำเลยนะ อย่าข้ามขั้นตอน จะพยายามถอดกางเกงในก่อนจะถอดกางเกงข้างนอกทำไม ถ้าใส่กระโปรง มันง่ายกว่าก็จริงแต่ผลลัพธ์ไม่มีคุณภาพ แถมลุ้นปัญหามาตามหลังให้ทำตามขั้นตอนที่เรียบง่าย ได้ทดสอบและใช้งานมาจริงในหลากหลายโรงแรมทั่วโลกแล้วดีกว่า อย่าฝืน
ไม่ต้องกังวลว่ามันจะยาก เพราะท่านได้เจอสิ่งที่ยากลำบากกว่านี้อยู่แล้วโดยที่ท่านอาจจะเจ็บปวดมาโดยตลอดจาก OTA
❌รู้สึกอย่างไรที่ต้องพึ่งพา OTA มากมายจนรู้สึกว่าธุรกิจกำลังจะตายถ้าไม่มีเค้า
❌รู้สึกอย่างไรที่บางครั้งก็ไม่อยากลดราคาทำโปรอะไรเยอะแยะ แต่ก็หนักใจและยากที่จะต้องปฏิเสธ ขอมาก็ต้องฝืนใจตามน้ำไป เพราะท่านก็ไม่รู้จะทำไง
❌รู้สึกอย่างไรทั้งที่ท่านเป็นผู้บริหารโรงแรมของท่านเอง แต่ต้องยอมรับคำเรียกร้องไปโดยปริยายเพราะไม่เหลือไพ่ใบไหนที่จะสู้ได้แล้ว
ถ้าเห็นด้วยกับแนวทางที่ผมเล่ามา ผมจะพาไปทำความเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายกับขาใหญ่ในวงการ ที่ลูกค้าเป้าหมายชอบวิ่งไปหาก่อนใคร นั่นคือ OTA ว่าจะทำงานกับ OTA ยังไงให้โรงแรมได้ผลลัพธ์ มากกว่าผลเสีย ด้วยมุมมองใหม่ที่ไม่น่าจะเคยมีใครบอกท่าน
ถ้าอ่านมาแล้วตรงกับปัญหาที่ต้องการอยากแก้